วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554

สร้างสมองลูกให้เฉลียวฉลาดด้านภาษา ตอนที่ 1

      ตามที่เราเคยทราบกันมา ทฤษฏีเชาวน์ปัญญาแบบเดิมเน้นแต่เชิงภาษ คณิตศาสตร์ และความคิดเชิงตรรกะ สังเกตได้จากแบบทดสอบด้านไอคิวซึ่งจะตอกย้ำสามด้านนี้เช่นกัน ขณะที่ในทางการแพทย์ก็เน้นเพิ่มอีก 4 ด้านคือ ร่างกาย ภาษา การเรียนรู้ และ สังคม
        จนกระทั่งปี ค.ศ. 1983 โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เสนอนิยามเชาวน์ปัญญา หรือ อัจฉริยภาพใหม่เป็น 8 ด้าน กลายเป็นที่มาของทฤษฎีพหุปัญญา (Mulitple Intelligent of Howard Gardner) ซึ่งประกอบด้วย หนึ่ง ด้านภาษา (Linguistic) สอง ด้านตรรกะ และ ด้านคณิตศาสตร์ (Logical - Mathematical) สาม ด้านดนตรี (Musical) สี่ ด้านร่างกายและความเคลื่อนไหว (Bodily- Kinesthetic) ห้า มิติสัมผัส (Spatial-Visual) หก ด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal) เจ็ด ด้านความเข้าใจตนเอง (Intra personal) และ แปด ด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalistic) ในบทความนี้จะนำเสนอในส่วนความฉลาดทางด้านภาษา

        ความฉลาดด้านภาษาเป็นความสามารถในการเลือกใช้ถ้อยคำที่แสดงออกในการสื่อความหมาย ควบคุมการเรียบเรียงประโยคออกมาเป็นประโยคที่สื่อความหมายตามหลักภาษา จึงมีความสำคัญต่อการเรียนรู้และการศึกษาของเด็กเป็นอย่างมาก เพราะหากพัฒนาการด้านนี้มีความบกพร่องหรือช้ากว่าคนอื่น โอกาสทางการเรียนรู้รวมถึงการศึกษาก็จะกระทบมาก
       ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีความฉลาดด้านภาษา เช่น สื่อสารกับคนอื่นโดยใช้ภาษาได้อย่างดี มีนิสัยรักการอ่าน มีความสามารถเรียนรู้ภาษาอื่นได้ดีและรวดเร็ว ชอบโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เป็นต้น เราจะพบคนเหล่านี้ เช่น กวี นักเขียน นักพูด นักการเมือง คนเล่านิทาน เป็นต้น

การพัฒนาทักษะทางภาษา

        บางครั้งเด็กยังไม่อาจะแสดงแววทางภาษาที่ชัดเจนอาจมีมาจากหลายสาเหตุ เช่น ความพร้อมทางร่างกายบุคลิกภาพส่วนตัวที่ไม่ชอบพูด ไม่ชอบแสดงออก ดังนั้นพ่อแม่ควรมีส่วนร่วมสนับสนุนให้เด็กมีความกล้าแสดงออก ดังนั้นพ่อแม่ควรมีส่วนร่วมสนับสนุนให้เด็กมีความกล้าแสดงออกมีความเชื่อมั่นตัวเอง พร้อมเสริมประสบการณ์ด้านภาษา เช่น เริ่มอ่านนิทานให้ฟัง เล่นเกมส์ภาษา ปริศนาคำทาย หมั่นอธิบายความหมายสิ่งต่างๆ สอนคำศัพท์ภาษาต่างๆ เล่นเกมสะกดคำทั้งภาษาไทย อังกฤษ จีน เป็นต้น
        ช่วยหาหลักสะกดคำยากให้ง่ายขึ้น ตัวอย่าง endangered ควรแบ่งเป็น 2-3 อักษร เช่น en-dan-ger-ed เด็กจะจำได้ง่ายและสะกดได้ถูกต้อง สนุกกับการจำศัพท์ยากๆ สนับสนุนนิสัยรักการอ่าน ไม่ว่าเขาจะชอบอ่านหนังสือแบบไหน ที่สำคัญ ถ้าจะสอนภาษาที่สองหรือสามก็ต้องสอนกันตั้งแต่ยังเล็กๆ จะได้เป็นธรรมชาติจำได้ง่ายกว่า รอพ้นวัย 3-4 ขวบจะช้าเกินไปครับ อาจใช้บัตรคำที่ด้านหนึ่งมีรูปภาพ อีกด้านหนึ่งเป็นตัวอักษรทั้งภาษาอังกฤษและจีน เช่น น้ำ ก็มีรูปน้ำในแก้วหรือ น้ำตก มีความว่า water และ shui (สุ่ย) ซึ่งมีทั้งอังฤษและจีน เป็นต้น
         แต่อย่าลืมนะครับว่าเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันแต่ละคนล้วนมีความเป็นปัจเจก มีความารถเฉพาะตนพ่อแม่ไม่ควรบังคับ ต้องทำให้เด็กมีความต้องการเองมีความสุข สนุกสนานในทุกกิจกรรมที่เราร่วมส่งเสริมเขา พ่อแม่มีหน้าที่สังเกตความถนัด ความสนใจ ต้องกระตุ้นให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก
        ที่สำคัญสุดก็คือ ต้องมีความสม่ำเสมอ ทำทุกวันเป็นชีวิตประจำวัน ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ทำอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด จะอาศัยหรือหวังจากทางโรงเรียนนั้นไม่พอ เช่น ถ้าจะให้ลูกเรียนหรือพูด 2-3 ภาษา พ่อแม่ก็ต้องพูดภาษานั้นๆกับเขาที่บ้านทุกวัน กระตุ้นให้เด็กได้แสดงออกเป็นนักเล่าเรื่อง ลูกไปเรียนมีอะไรบ้าง ส่งเสริมการเขียนบันทึกประจำวัน และเข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาเมื่อมีโอกาศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น