วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

สยบอาการงอแง... เมื่อลูกน้อยต้องแยกจากพ่อแม่

สยบอาการงอแง... เมื่อลูกน้อยต้องแยกจากพ่อแม่




วัยทารก: เริ่มยกที่หนึ่ง
       โดยปกติ ความกังวลว่าจะต้องแยกจากพ่อแม่จะเกิดขึ้นเมื่อลูกอายุได้ราว 8 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มรู้สึกว่าตัวเองเป็นอีกคนหนึ่งไม่ใช่ส่วนหนึ่งของแม่ หรือพ่อ อีกต่อไป
       ลูกอาจจะรับรูว่า มีบางเวลาที่พ่อแม่ไม่ได้อยู่กับเขา ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังไม่เข้าใจหรอกว่าถึงอย่างไรก็ต้องกลับมาหาเขาอยู่ดี
       ความกังวลนี้อาจจะอยู่กับลูกไปอีกหลายสัปดาห์ หรืออาจจะลากยาวไป 2-3 เดือน กว่าจะแน่ใจว่าคุณไม่ได้ทิ้งเขาไปไหน


รับมืออย่างไร
  • เตรียมพร้อมแต่เนิ่นๆ พอเจ้าตัวเล็กอายุ 6 เดืนให้เริ่มทำความคุ้นเคยกับคนอื่นๆ ที่มาคอยช่วยแม่ดูแลเขา เช่น ญาติ
  • อย่าอ้อยอิ่งขณะบอกลา "แม่ไปแล้วนะจ๊ะ เจอกันตอนบ่ายนะลูก" รีบลาแล้วจงรีบไป เพราะยิ่งทิ้งช่วงนาน ลูกจะยิ่งรู้สึกว่ากำลังจะมีเรื่องน่ากังวลเกิดขึ้น
  • สร้างความมั่นใจด้วยภาษาท่าทาง ก่อนจะออกไปข้างนอก ให้ส่งยิ้มและโบกมือให้ลูก ทำท่าร่าเริงเข้าไว้ ลูกจะแปลความหมายได้ว่าแม่สบายใจที่จะให้เขาอยู่กับคนคนนี้
  • อย่าหนี้ไปเงียบๆ การฉวยโอกาสย่องออกจากบ้านไปตอนลูกเผลอเท่ากับเป็นการหลอกลวงเขา และ นั่นก็จะบั่นทอนความไว้ใจที่เขามีต่อคุณด้วย ทางที่ดีให้พี่เลี้ยงรีบมาดึงความสนใจจากลูกในทันทีที่คุณก้าวขาออกไปจะดีกว่า อาจจะใช้ของเล่นชิ้นโปรดเกมจ๊ะเอ๋
วัยเตาะแต:ช่วงชุลมุน
     เมื่อเข้าสู่วัยเตาะแตะ เด็กบางคนอาจจะเลิกเครียดหรือเลิกกังวลเมื่อต้องแยกาจากพ่อแม่ แต่สำหรับบางคนความรู้สึกดังกล่าวอาจจะเพิ่งปรากฎ และจะมีอาการมากๆในช่วงอายุ 1-2 ขวบ
      เด็กวัยนี้จะติดพ่อแม่มาก เขาอาจมีอารมณ์ฉุนเฉียว กรีดร้อง หรือ ตีโพยตีพายให้เห็น ในระหว่างที่คุณทำท่าจะไปจากเขา
      นอกจากนี้เด็กวัยเตาะแตะยังเริ่มอยากจะควบคุมอะไรบางอย่างให้เป็นดั่งใจปราถนา อย่างช่วงนี้หนูน้อยรู้แล้วละว่า ไม่ว่าจะไปไหน สุดท้ายคุณจะกลับมาให้เขาเห็นอีก แต่ถึงอย่างไร เขาก็ยังอยากให้คุณอยู่ใกล้ๆตลอดเวลาอยู่ดี ยิ่งรู้แกวว่าร้องไห้คร่ำคราญเมื่อไร พ่อกับแม่ต้องใจอ่อนทุกที

รับมืออย่างไร
  • ส่งสัญญาณการล่ำลา เช่นหอมแก้มเขาทั้งซ้ายแลขาวทุกครั้งที่จะออกจากบ้าน
  • มอบหมายงาน เชนก่อนออกไปทำงานให้บอกเขาว่า เดี๋ยวหนูปิดประตูให้แม่ด้วยนะจ๊ะ ความรับผิดชอบเล็กๆน้อยๆ ช่วยให้เจ้าตัวเล็กปรับตัวได้อย่างง่ายขึ้น
  • บอกเวลากลับคร่าวๆ อย่าเผลอพูดเป็นจำนวนชั่วโมงเพราะเด็กวัยนั้ไม่ใคร่จะเข้าใจนักหรอก บอกเขาว่าคุณจะกลับมา "หลังอาหารว่าง" จะเข้าท่ากว่า
  • ย้ำว่าคุณจะกลับมาหาเขาแน่นอน เมื่อเจ้าตัวเล็กโวยวาย "ไม่เอา หนูไม่ให้แม่ไป" ก็ให้ถามเขากลับว่า "ทุกครั้งแม่ออกไปข้างนอก แม่จะทำยังไงนะ" จากนั้นก็ให้ตอบเองว่า "แม่จะกลับมาหาหนู"

วัยก่อนเข้าเรียน:อาการกำเริบ
ช่วงนี้คุณอาจจะต้องเหนื่อยหน่อยในการรับมือกับความกังวลของเจ้าตัวเล็ก อายุที่มากขึ้น คงทำให้คุณตายใจ ว่าเขาน่าจะโตพอจนไม่จำเป็นต้องอยู่ติดพ่อแม่แล้ว แต่อนิจจา อาการเป็นกังวลหรือร้องไห้ตีโพยตีพายยังไม่จากไปไหน แต่มาพร้อมกับเงื่อไขใหม่ๆในชีวิต เช่น แม่มีน้อง ต้องเข้าโรงเรียนพ่อไม่สบาย กำลังจะย้ายบ้าน เป็นต้น

ในกรณีที่บ้านจะมีน้องใหม่ลูกอากลัวว่าจะถูกแย่งความรัก ส่วนการเข้าโรงเรียนเขาจะรู้สึกไม่มั่นใจเมื่อต้องไกลจากพ่อแม่ แต่ยังนับว่าโชคดีความกังวลเหล่านี้จะอยู่กับลูกแค่ไม่กี่สัปดาห์


รับมืออย่างไร
  • บอกลูกว่าสิ่งที่เขากังวลไม่ได้เลวร้าย ยับยั้งคำพูดประเภทที่ว่า "โตแล้วนะเรา อย่างอแงสิ" ทางที่ดีดึงเขากอดแล้วบอกทำนองว่า "แม่รู้นะว่าหนูไม่สบายใจ ไหนลองคิดถึงสิ่งที่หนูกลัวแต่เอาเข้าจริงก็ไม่มีอะไรสิลูก อย่างตอนที่เราลงเล่นสระว่ายน้ำครั้งแรกไงจ๊ะ"
  • มีเวลาให้เขาเป็นพิเศษ
  • ทำตารางเวลา กำหนดเวลาให้เป็นแบบแผนจะช่วยให้ลูกเรียนรู้ถึงลำดับก่อนหลังในชีวิต
  • พยายามอย่าตามใจลูก พึงระลึกไว้ว่าเด็กจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนระเบียบ วินัย ฉะนั้นแทนที่จะยอมตามใจลูกตลอดเวลา ลองเปลี่ยนเป็นดึงเขามากอดมาหอมปลอบใจแทน

1 ความคิดเห็น:

  1. Borgata Hotel Casino & Spa, Atlantic City - MapYRO
    Hotel Amenities at Borgata 공주 출장마사지 Hotel Casino & 안동 출장샵 Spa The property, which opened in 춘천 출장안마 September 광양 출장샵 2018, is 부산광역 출장샵 the third casino to open its doors to the public in a year.

    ตอบลบ